โดย ศาสตราจารย์ ดร. ปิติ สุคนธสุขกุล
ช่วงเดือนมีนาคม 2557 (March 2014), ผมได้มีโอกาสเดินทางไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัย Hankyong National University ระหว่างที่พำนักในเกาหลี ผมได้มีโอกาสเดินทางไปตมาสถานที่ต่างๆมากมาย หนึ่งในนั้นคือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติของประเทศเกาหลีใต้ ในกรุงโซล ซึ่งเต็มไปด้วยสมบัติล้ำค่าต่างๆมากมาย
ท่ามกลางสมบัติทั้งหลาย มีสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจของผมในฐานพุทธศาสนิกชนอย่างมาก คือ พระพุทธรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ที่เรียกว่า Bodhisattva in Pensive Pose ซี่งทางพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติของเกาหลีใต้พระพุทธรูปปางนี้หลายรูปและหลายขนาด แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นระดับมากมีอยู่ 2 รูป คือ National Treasure No. 78 และ No. 83
รูปหล่อพระโพธิสัตว์สองรูปนี้ถือเป็นสมบัติประจำชาติของเกาหลีใต้ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเพราะได้เคยถูกเชิญให้นำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์สถานในประเทศสหรัฐอเมริกามาแล้ว (National Treasure No. 83) ซึ่งถือเป็นการออกเดินทางออกจากประเทศเกาหลีใต้เป็นครั้งแรก ซึ่งกว่าจะได้รับอนุมัติให้ถูกนำออกนอกประเทศได้ ทางพิพิธภัณฑ์สถานได้รับการต่อต้านจากประชาชนเกาหลีใต้พอสมควร แต่สุดท้ายก็ต้านทานกระแสความต้องการชื่นชมของคนอเมริกาไม่ได้ โดยนำไปแสดงที่ New York ปลายปีที่แล้วถึงต้นปีนี้
ก่อนจะไปในรายละเอียด
ผมขอย้อนอดีตให้ฟังเล็กน้อยเพื่อเป็นการปูพื้นเรื่องราว ประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบันเป็นประเทศที่ไม่มีศาสนาประจำชาติครับ
เนื่องจากจำนวนประชากรที่นับถือศาสนาและไม่นับถือศาสนามีสัดส่วนที่ค่อนข้างกระจายตัว
โดยประมาณตามนี้ นับถือศาสนาคริสต์ 29.2% นับถือศาสนาพุทธ
22.8% และ ไม่ยึดถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง (No
Affiliation) คิดเป็น 46.5% ดังนั้นเวลาท่านไปถามคนเกาหลีใต้ว่าศาสนาประจำชาติคืออะไร
เขาจะตอบว่าไม่มีครับ
ถึงกระนั้นก็ตาม ประเทศเกาหลีใต้ก็เคยมียุคทองของพระพุทธศาสนาเช่นกัน
โดยหากย้อนไปในอดีตช่วงศตวรรษที่ 6 ประเทศเกาหลีใต้ขณะนั้นอยู่ภายใต้ราชวงศ์ซิลล่า
(Silla
Kingdom) ซึ่งถือเป็นยุคสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก
ได้มีการก่อสร้างวัดพุทธขึ้นเป็นจำนวนมาก
ศิลปที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาก็ได้รับการพัฒนาให้มีความสวยงามโดยแสดงออกผ่านทางพระพุทธรูปและรูปหล่อต่างๆ
สำหรับรูปหล่อพระโพธิสัตว์ปางครุ่นคิดนี้
ภาษาอังกฤษตามที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ใช้คำว่า Bodhisattva in Pensive Pose
หรือคำว่า Maitreya คำบรรยายใต้รูประบุว่าเป็นรูปหล่อของเจ้าชายสิทธัตทะที่ทรงนั่งในท่า dhyāna
mudra ซึ่งมีเป็นทางนั่งทำสมาธิโบราณของประเทศอินเดีย
โดยมีลักษณะพิเศษคือเป็นท่านั่งบนอาสนะยกสูง ขาซ้ายปล่อยลงจากอาสนะ
ขาขวาถูกยกไขว้ขึ้นมาวางบนเข่าซ้าย (ไขว่ห้าง) มือซ้ายวางไปบนข้อเท้าขวา ส่วนมือขวายกขึ้นมาแตะที่หน้า
ดวงตาทั้งสองมองต่ำ
(A classic contemplative pose: one leg pearched up on the other knee, with fingers raised up against the cheek. This pose was derived from the young Indian Prince: Siddhartha Gautama, contemplating the nature of human life.)
(A classic contemplative pose: one leg pearched up on the other knee, with fingers raised up against the cheek. This pose was derived from the young Indian Prince: Siddhartha Gautama, contemplating the nature of human life.)
National Treasure No. 78 |
National Treasure No. 83 |
ตามที่ได้เกริ่นนำในช่วงแรก
รูปหล่อพระโพธิสัตว์ปางครุ่นคิดของประเทศเกาหลีใต้นั้นมีหลายรูป แต่มีอยู่สองรูปที่มีชื่อเสียงมาก
คือ National
Treasure No. 78 และ 83 ความแตกต่างของทั้งสองรูปจะอยู่ตรงเสื้อผ้าและมงกุฎที่สวมใส่
โดย No. 78 ซึ่งมีความเก่ากว่าเล็กน้อยมีการแต่งองค์ด้วยเสื้อผ้าและมงกุฏที่มีความงดงามกว่า
ส่วน No. 83 เป็นรูปหล่อที่เน้นความเรียบง่าย
(ซึ่งสะท้อนถึงอิทธิพลของลัทธิเต๋าที่เข้ามาสู่ประเทศเกาหลีใต้)
เป็นที่เชื่อกันว่าศาสนาพุทธ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียก่อนที่จะเผยแพร่มายังแถบเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นถ้ามีรูปหล่อแบบนี้ในเกาหลี ก็แสดงว่าต้องมีรูปหล่อลักษณะเดียวกันทั้งในอินเดีย จีน และ ญี่ปุ่น ผมจึงทำการสืบค้น ก็พบว่ามีจริงๆโดยรูปหล่อส่วนมากจะมีท่าทางคล้ายกันแต่แตกต่างกันในส่วนของเสื้อผ้าและเครื่องประดับ โดยทางอินเดียเน้นเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่มีความอลังการงดงาม แต่ในส่วนของเกาหลีและญี่ปุ่นจะเน้นความเรียบง่าย ซึ่งเห็นว่าเมื่อศิลปะเดินทางจากที่หนึ่งยังที่หนึ่ง ช่างศิลปะท้องถิ่นก็จะนำอิทธิพลทางความคิดของตัวเองใส่เข้าไปในงานศิลปะนี้ เมื่องานชิ้นนี้เดินทางไปถึงจีน เกาหลีและญี่ปุ่น ก็ถูกอิทธิพลของลัทธิเต๋าที่เน้นความเรียบง่าย ทำให้รูปลักษณ์ของพระพุทธรูปนี้เปลี่ยนไป
References
[India] A gray schist, Gandhara, 2nd/3rd century. |
[China] Pair of Bodhisattvas in the Pensive Pose (marble), Northern Qi period (550-557) |
[Japan] 7th century. Wood (red pine); Kōryū-ji Temple, Kyoto, Japan |
[http://elogedelart.canalblog.com/archives/2011/01/05/20053176.html]
[http://www.asiasocietymuseum.org/region_object.asp?RegionID=4&CountryID=12&ChapterID=26&ObjectID=488]
[http://www.metmuseum.org/about-the-museum/now-at-the-met/features/2013/pensive-treasure]
No comments:
Post a Comment